Welcome

Welcome

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 26   ธันวาคม  2556

หยุดงานกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 12   ธันวาคม  2556

สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้

"พัฒนาการ"  หมายถึง  
     - การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้น
     - การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
     - ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

"เด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ"  หมายถึง  
     - เด็กที่มีพัฒนาการหยุดอยู่กับที
     - เด็กที่มีพัฒนาการถดถอยลงจากเดิม
     - เด็กที่มีพัฒนาการล้าช้ากว่าปกติกับเด็กในวัยเดียวกัน
     - เด็กที่มีพัฒนาการล้าช้าส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นๆช้าไปด้วย

ปัจจัยที่มีผลให้เด็กมีพัฒนาการช้า
     1.ด้านชีวะภาพ  เช่น  พันธุกรรม  ยีน  โคโมโซม
     2.ด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด 
     3.กระบวนการคลอด  เช่น  ช่วงที่เด็กคลอดหมอทำคลอดอย่างไร  ถ้าทำผิดพลาดก็อาจทำให้เด็กบกพร่อง
     4.สภาพแวดล้อมหลังคลอด  เช่น  การดูแลเด็กของผู้ปกครอง

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
     1.โรคทางพันธุกรรม  คือ  
          - เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในทองแม่  มักมีความผิดปกติร่วมด้วย  2  อย่างคือ  หูหนวกและตาบอด  ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง  หรือก็กเป็นทั้งสองอย่างร่วมกัน
          - เด็กเผือก  จะไม่สามารถโดนแดดได้  จะทำให้เป็นมะเร็ง
          - เท้าแสนปม  ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ  แต่แค่ภายนอกดูเหมือนเนื้องอกตามผิวหนัง  ดูเป็นโรคที่มีความร้ายแรงแต่ที่จริงแล้วโรคนี้ไม่สามารถติดต่อทางอืื่นได้นอกจาก  เกิดมาจากพันธุกรรม
     2.โรคทางระบบประสาท  คือ
          -  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรือแสดงอาการบกพร่องทางระบบประสาท  อาการที่พบบ่อยคือ  อาการชักต่างๆ  5  แบบ
     3.การติดเชื้อ  คือ
          - ติดเชื้อตั้งแต่ที่อยู่ในท้องแม่  หรือหลังคลอด  ทำให้  ตับม้ามโต  การได้ยินบกพร่อง  บกพร่องด้านการมองเห็น  ติเชื้อHIV  ซิดฟรีลิิด  ต้อกระจก  ศีรษะเล็ก  ส่งผลให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
     4.ความผิดปกติที่เกี่ยวับเมตาบอลิซึม
          - โรคที่เป็นปัญหาสาธารณะสุขไทย  คือ  โรคไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
     5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
          -  การเกิดก่อนกำหนด  น้ำหนักตัวเกินเล็กน้อย  และภาวะขาดออกซิเจน
     6.สารเคมี
          - สารตะกั่ว  เป็นสารเคมีที่กระทบต่อเด็ก  และมีการศึกษามากที่สุด  ส่งผลทำให้เด็กมีอาการซึมเศร้า  ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ  ภาวะตับเป็นผิด  มีระดับสติปัญญาต่ำ
          - แอลกอฮอร์  ส่งผลให้น้ำหนักของเด็กแรกเกิดน้อยมาก  มีอัตตราการเพิ่มน้ำหนักหลังหลังเกิดน้อย  ศีระษะเล็ก  พัฒนาการทางสติปัญญาต่ำ  เด็กบกพ่ร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  Fatal  al coho  syndrome (FAS)  ช่องตาสั้น  ร่องริมฝีปากบนเรียบ  ริมผีปากบนยาวและบาง
          - นิโคติน(สูบบุหรี่)  ส่งผลทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย  ขาดอาหารในระยะตั้งครรภ์  เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก  บกพร่องทางสติปัญญา  พฤติกรรมก้าวร้าว  เข้าสังคมไม่ได้
     7.การเลี้ยวดูที่ไม่เหมาะสม  รวมทั้งขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  คือ  มีพัฒนาการช้า

แนวทางในการวินิจฉัย  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ  -  โรคประจำตัว  โรคทางพันธุกรรม  การเจ็บป่วยนครอบครัว  ประวัติการฝากครรภ์   การคลอด  การเล่นตามวัย  การช่วยเหลือตนเอง  และพฤติกรรมอื่นๆ  เมือ่ซักประวัติแล้วก็สามารถบอกได้ว่า
     - พัฒนาการล่าช้าแบบคงที่  หรือ  ถดถอย
     - พัฒนาการช้าหรือไม่  อยู่ในระดับไหน
     - มีข้อบ่งชี้ มีสาเหตุของพันธุกรรมหรือไม่
     - สาเหตุของความบกพร่องทางพันธุกกรรม  เกดิจากอะไร  ฟื้นฟูช่วยเหลือเด็กได้อย่างไร
2.กรตรวจร่างกาย
     - การเจริญเติบโต  ภาวะตับม้ามโต  ผิวหนัง  ระบบประสาทวัดรอบศีรษะ  ลักษณะทางพันธุกรรม  การมองเห็น  การได้ยิน  
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
     - หมอจะเช็คทุกอย่างเกี่ยวกับเด็ก  แสกนด์ตรวจ
     - ในเวชประวัติ  เช่น  แบบทดสอบพัฒนาการเด็ก  DENVER II  4  อย่าง  แบบทดสอบวัด IQ  Gesell  drawing  test  ของเด็ก  1- 12  ขวบ   สมุดพัฒนาการของสถาบันราชานุกูล  0 - 5 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่  28  พฤศจิกายน  2556

สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้

6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารามณ์(Children with Behaviorally and Emotional Disorders)
คือ  ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้  พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม  อารมณ์รุนแรง  แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
     1.เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์  คือมีอารมณ์รุนแรงมากดุน่ากลัว  แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้
     2.เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้  เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  สามารถปรับตัวได้ถ้าได้รับการฝึกและดูแล สังเกตได้จากพฤติกรรมที่มีความวิตกกังวล  หลีกหนีสังคม  ก้าวร้าว  มักเกิดกับลูกคนรองเพราะพ่อแม่ตามใจ  เช่น  เด็กอนุบาลที่พ่อแม่ตามใจทำให้ทุกอย่าง  จะไม่ค่อยเล่นกับเพื่อน  มักเล่นตรงมุมของตนเองเพียงลำพัง
      การแยกแยะเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม  ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
      ผลกระทบที่เกิดกับเด็กคือ  เด็กไม่สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อน  ครู  หรือคนในสังคมได้  (เด็กเหล่านี้มักจะมีกล้ามเนื้อทางด้านร่างกายที่ไม่แข็งแรง)  มีพฤติกรรมที่เป็นกฏ  ชอบบ่นปวดหัว  ปวดแขน  ปวดท้อง  หวาดกลัวทุกอย่างที่อยู่รอบตัว
     เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก  ได้แก่
1.เด็กสมาธิสั้น ADHD (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)  หมายถึงเด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา บางคนมีลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจนถึงปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง  หรืออาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ Attention Deficit Disorders หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า ADD
     ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  คือ  อุจระ  ปัสวะ  ราดใส่ที่นอน  ติดขวดนม  ติดตุ๊กตา  และของใช้ในวัยทารก   ดูดนิ้ว  กัดเล็บ  หงอยเหงา  เรียกร้องความสนใจ  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า  ขี้อิจฉา  ก้าวร้าว  ฝันกลางวัน  พูดเพ้อเจ้อ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารามณ์
7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) เด็ก LD มีสติปัญญาอยู่ในช่วงเช่นเดียวกับเด็กปกติแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต่ำ  เนื่องจากเรียนรู้ไม่ค่อยได้  มีปัญหาทางด้าน  ภาษาและการพูด  ไม่รวมพวกที่เรียนอ่อนบางวิชาที่เล็กๆน้อยๆ  ไม่มีความพิการหรือความบกพร่องในด้านร่างกาย  สุขภาพอนามัย ระบบประสาทการสัมผัสและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่เกิดขึ้นที่ตัวเด็กเอง
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
8.เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ  ออทิสซึ้ม (Autism)คือเด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้หรือเรียนรู้  เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง  ไม่มีทางรักษาให้หายได้




ลักษณะของเด็กออทิสติก  มีดังนี้
1.อยู่ในโลกของตนเอง                                      
2. ไม่สนใจที่จะเข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ    
3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน ๆ                        
4. ไม่ยอมพูด                                                    
5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ                                      
6. ยึดติดวัตถุ
7. ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง และไร้เหตุผล
8. มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
9. ท่าทางไม่รู้สึกรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น
เด็กออทิสติก
9.เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน – ตาบอด   ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ    หูหนวก-ตา
บอด ฯลฯ
เด็กพิการซ้อน
         จากนั้นอาจารย์ก้ให้ดูวิดีโอเรื่อง  ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ  มีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการคัดแยกจำแนกเด็กที่มีความต้องการพิเศษในด้านต่างๆ  เพื่อส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้และให้เกิดการพัฒนาในตนเองของเด็กในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม  โดยอาจารย์ให้ดูและเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการดูไว้  และเมื่อดูเสร็จอาจารย์ก็ให้สรุปความรู้ที่ได้ออกมาในรูปแบบแผนผังความคิด  และส่งท้ายค้าบเรียนมีคะแนนในชิ้นงานนี้  10  คะแนน

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่  21  พฤศจิกายน  2556

สิ่งที่ได้เรียนวันนนี้

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
     - เด็กที่อวัยวะไม่สมส่วน  หรือไม่ก็ไม่มีอวัยวะนั้นๆ
     - เกี่ยวกับระบบประสาท มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
จำแนกได้  2  แบบ คือ 
   1.บกพร่องทางด้านร่ากาย  ได้แก่
         - เกิดจากการเป็นอัมพาตของสมอง  หรือสมองพิการ  ส่งผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาแต่ถูกทำลายก่อนคลอด  ระหว่างและหลังคลอด          - ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ช้า  หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลยอาการที่พบคือ  1.อัมพาตเกร็งแขนขา  ครึ่งซีก(Spastic)
                                2.อัมพาตแบบเคลื่อนไหวผิดปกติ(Athetoid)
                                3.อัมพาตแบบสูญเสียการทรงตัว(Ataxia)
                                4.อัมพาตแบบตัวแข็ง(Rigid)
                                5.อัมพาตแบบผสม(Mixed)
     2.กล้ามเนื่้ออ่อนแรง(Muscular Distrophy)  (ไม่มีทางรักษาหาย)
         - เกิดจากเซลประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
         - เดินไม่ได้  นั่งไม่ได้  ต้องนอนอยู่กับที่ 
         - ความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำเเย่ลง สมองเสื่อม 
     3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ไดแก่
         - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพก
เคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน
         - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลัง
โกง กระดูกผุ
         - กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหลังจากได้รับบาดเจ็บ
     4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัส  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก  เกิดที่ขามากกว่าแขน แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เพียงพิการแขนขา ยืนไม่ได้หรือยืนเดินได้ด้วยกายอุปกรณ์เสริม
     5.แขนขาด้วนแต่ก าเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่นิ้วมือติดกัน  หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหต
     6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)  ทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย
   2.บกพร่องทางสุขภาพ  ได้แก่
      1.โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง แบ่งออกคือ 
          - ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
          - ชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)  5-10 วินาที  เมื่อเกิดอาการชัก และหยุดชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
         - ชักแบบรุนแรง (Grand Mal)  2-5 นาทีจากนั้นก็จะสลบไป
         - ชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex) บางครั้งเรียกไซโคมอเตอร์ 
(Psychomotor) หรือเทมปอรัลโลบ (Temporal Lobe) เกิดอาการเป็นระยะ ๆ กัดริมฝีปาก  ถูตามแขนขา   ทำท่าทางบางอย่างโดยไม่รู้สึกตัว 
        - แบบไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)  เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
     2.โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณ
โรค ปอดบวม 
     3.โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน 
     4.โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า  เท้า  ศอก  นิ้วมือ 
     5.โรคศีรษะโตเนื่องจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด
     6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่ก าเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว 
     7.โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระดูกและไต 
     8.บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
ลักษณะขแงเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสุขภาพ  คือ  ทรงตัวไม่ได้  ท่าเดินคล้ายกรรไกร  หลังแข็ง

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) คือ ที่พูดไม่ชัด  ออกเสียงผิดเพี้ยน  อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามล าดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อ
การพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ
     1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
     2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
     3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง  ความดัง  คุณภาพของเสียง
     4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia  ได้แก่
          4.1 Motor aphasia  ถามอะไรไปเข้าใจรู้เรื่อง  แต่ตอบกลับมาไม่รู้เรื่อง
          4.2 Wernicke’s aphasia  สั่งอะไรไปไม่รู้เรื่องพูดหรือถามก็ไม่รู้เรื่องออกเสียงติดขัดมักใช้คำผิด ๆ 
          4.3 Conduction aphasia  พูดออกมาไม่ได้  เนื่องจากพูดไม่ออก
          4.4 Nominal aphasia  เข้าใจเข้าถาม  พูดตามได้  แต่บอกชื่อไม่ได้
          4.5 Global aphasia  ไม่เข้าใจภาษาพูด  ภาษาเขียน  พูดไม่ได้เลย
          4.6 Sensory agraphia  เขียนเองไม่ได้  เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อก็ไม่ได้  เขียนตามได้
          4.7 Motor agraphia  ลอกตามไม่ได้  เขียนไม่ได้เลย  คือไม่รู้เรื่อง
          4.8 Cortical alexia  อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา 
          4.9 Motor alexia เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้  
          4.10 Gerstmann’s syndrome ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา  คำนวณไม่ได้  เขียนไม่ได้  อ่านไม่ออก
          4.11 Visual agnosia  มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร  ไม่รู้ความหมาย
          4.12 Auditory agnosia  ไม่บกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของที่ได้ยินไม่เข้าใจ 
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา  คือ  ในวัยทารกจะไม่ร้อง  หรือร้องเบา  ไม่ออกเสียงอ้อแอ้ภายใน10เดือน  ไม่พูดภายใน2ขวบ  3ขวบพูโไม่รู้เรื่อง   ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้  5ขวบเด็กยังใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์  ระดับประถมมีปัญหาทางการพูด  พูดตะกุตะกัก  ใช้ท่าทางสื่อความหมาย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

          เมื่อเรียนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาดูวิดีโอเกี่ยวกับหญิงพิการคนหนึ่ง  ที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆที่ได้เกิดขึ้นในชีวิตของหญิงคนนี้ตั้งแต่แรกเกิดมาจนเติบโต  ได้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูของคนในครอบครัว  การแสดงออกหรือการกระทำของคนในครอบครัวที่ทำให้เธอรู้สึกและรับรู้ได้ว่าเธอก็เป็นเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป  ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนอื่นๆ  การให้กำลังใจ  คำสอนต่างๆ  หรือการมีความหวังและมองโลกในทางที่ดี  ทำให้หญิงคนน้เติบโตขึ้นและใช้ชีวิตในทุกๆวันอย่างมีความหมาย  มีคุณค่า  มีความสุขกับสิ่งที่เธอเป็นและสิ่งที่เธอมี  ภูมิคุ้มกันเหล่านี้ที่เธอได้รับล้วนได้มาจากคนในครอบครัวและคนรอบๆข้าง   ทีคอยให้การสนับสนุนเธอเสมอ   ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองส่งผลให้เธอประสบความสำเร็จในชีวิตในแบบรูปของเธอหวังไว้
          จากนั้นอาจารย์ก็ขอตัวแทนนักศึกษาหนึ่งคนออกมาเป็นตัวแทนเพื่อพูดในสิ่งที่ได้รับชมไป  ว่าสิ่งใดที่ทำให้หญิงคนนี้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้  ซึ่งดิฉันเองได้เป็นตัวแทนออกไปพูดกล่าวถึงสิ่งที่ได้ดูให้เพื่อนๆ  และอาจารย์ฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่  14  พฤศจิกายน  2556

          วันนี้อาจารย์เบียร์ได้ให้จับกลุ่มและออกไปจับฉลากเลือกหัวข้องานที่ต้องนำเสนอ  กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อเรื่อง  " เด็กซีพี "

สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้

ความหมายของเด็กพิเศษ

          ทางการแพทย์จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า  "เด็กพิการ"  หมายถึง  เด็กที่มีความผิดปกติมีความบกพร่อง  สุญเสียสมรรถภาพ  อาจเป็นความผิดปกติทางทางร่างกาย  การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ
           ทางการศึกษา คือ  "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"   หมายถึง  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตนเอง  ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทั้งด้านเนื้อหา  หลักสูตร  การะบวนการที่ใช้และการประเมิน           
          สรุป  คือ
1.เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร  จากการให้การช่วยเหลือ  และการสอนตามปกติ
2.มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางด้านร่างกาย  เป็นหลักจึงส่งผลให้สมรรถภาพทางด้านอื่นๆลดลง
3.จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  การบำบัดฟื้นฟู
4.การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  10  ประเภท  แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม  ดังต่อไปนี้

1.กลุ่มที่มีความสามรถพิเศษสูง
          คือ  เด็กที่มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  โดยทั่วไปเรียกว่า "เด็กปัญญาเลิศ"  มี  IQ สูงถึง 120
 ตัวอย่างบทความเด็ฏปัญญาเลิศที่น่ายกย่อง
บทความเรื่อง “จากแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถึงกองขี้หมา”  มองพุทธศาสนาผ่านสายตาน้องเดียว
http://www.unigang.com/Article/5294
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง 
แบ่งได้  9  ประเภทตามหลักของกระทรวงศึกษาธิการ  คือ
          1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( Children With Intellectual Disabilities )   คือ  เด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้
                 1.เด็กเรียนช้า 
                     -สามารถเรียนรู้ได้ปกติแต่เรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป
               สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก คือ 1.เศรฐกิจของครอบครัว  2.การส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก  3.ภาวะทางด้านครอบครัว  4.การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ  5.การสอนไม่มีประสิทธิภาพ
               สาเหตุที่มาจากปัจจัยภายใน  คือ  1.พัฒนาการ  2.อาการเจ็บป่วย

                2.เด็กปัญญาอ่อน
                     คือ เด็กที่มีพัฒนาการหยุะงัก  มีลักษณะเฉพราะคือ  สติปัญาต่ำ  ทำให้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยากลำบาก  ความสามารถเรียนรู้น้อย  มีขีดจำกัดด้านทักษะทำให้พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย  แบ่งออกได้ด้วยกัน 4 กลุ่ม  ดังนี้
                    1.ปัญญาอ่อนหนักมาก  IQ  ต่ำกว่า  20  เรียนรู้ทักษะต่างๆไม่ได้ ต้องอยู่ในการดูแลของพยาบาล  เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
                    2.ปัญญาอ่อนหนัก  IQ  อยู่ระหว่าง  20 - 34  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่าย ๆ  ต้องฝึก
                    3.ปัญญาอ่อนกลาง  IQ  อยู่ระหว่าง 35 - 49 สามารถฝึกทำงานง่าย ๆได้  ที่ไม่มีความละเอียดมากนัก  สามารถเรียกเด็กกลุ่มนี้ได้อีกอย่างคือ  เด็ก T.M.R
                    4.ปัญญาอ่อนน้อย  IQ  อยู่ระหว่าง  50 - 70  สามารถเข้าโรงรียนได้ในระดับชั้นประถม สามารถเรียกเด็กกลุ่มนี้ได้อีกอย่าง  คือ  เด็ก E.M.R
         ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  คือ  มักจะไม่พูด   มีความสนใจสั้ัน  ความคิดและอารมณ์แปรปวนเปลี่ยนอารมณ์ง่าย มีอารมณ์รุนแรง  ทำงานช้าเนื่องจากอวัยวะบางส่วนผิดปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญา
          2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ( Children With Hearing Impaired ) คือ เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการรับฟังเสียงต่าง ๆ  แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ
               1.เด็กหูตึง  คือ  สามารถรับฟังเสียงโดยใช้เครื่องช่วยฟัง  จำแนกได้ทั้งหมด  4  กลุ่มคือ
                     1.หูตึงระดับน้อย  ได้ยินเสียงระหว่าง 26 - 40 dB จะไม่ได้ยินเสียงเบามาก เช่นเสียงกระชิบ
                     2.หูตึงระดับปานกลาง  สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 41 - 55 dB  หากยืนอยู่ไกลกว่าระยะ 3- 5 ฟุตจะไม่ได้ยินเสียง  ส่งผลให้พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน
                     3.หูตึงระดับมาก  ได้ยินเสียงระหว่าง 56 - 70 dB  จะมีปัญหาในการฟัง  ต้องเป็นเสียงระดับเครื่องตัดหญ้าถึงจะได้ยิน  ส่งผลให้พูดไม่ชัด
                     4.หูตึงระดับรุ่นแรง  ได้ยินในระดับ  71 - 90 dB  คือต้องเสียงดังมาก ๆถึงจะได้ยิน เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง  เด็กมักพูดไมชัด

                2.เด็กหูหนวก  คือ  ไม่ได้ยินเลย แม้จะใส่เครื่องช่วยฟัง คือสูญเสียการได้ยิน ต้องมีความดัง 91 dB ขึ้นไปถึงจะได้ยิน
                 ลักษณะการบกพร่องทางการได้ยิน  คือ  ไม่ตอบสนองการพูด  มักแสดงท่าทาง  พูดไม่ถูกไวนากรณ์  พูดด้วยน้ำเสียงแปลก  มักบกพร่องทางการเห็นด้วยเนื่องจากไม่ได้ยินเสียงเรียก  พูดเสียงแปลกๆ  เช่น ใช้เสียงต่ำ เสียงสูงเกินความจำเป็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะใช้ภาษามือสื่อสาร
          3.เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children With Visual Impairment )  จำแนกได้  2  ประเภทคือ
                1.เด็กตาบอด  คือ  คือสามารถมองเห็นได้บ้างเพียงเล็กน้อย  สามารถมองเห็นในระยะ 6/60 , 20/200    หรือเพียง 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ  มีลานสายตากว้าง  5 องศา
                2.เด็กตาบอดไม่สนิท  คือ  มีความบกพร่องทางสายตา  แต่สามารถมองเห็นได้บ้าง  ทำการทดสอบสายตาข้างที่ดีได้  6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200  มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
                ลักษณะความบกพร่องทางสายตาคือ   เดินงุ่มงาม  เดินสะดุด  มองสีผิดปกต  บ่นปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตายลาย  ก้มศีรษะใกล้เวลาทำงาน  ปิดตาข้างมองไม่เห็นแล้วใช้ข้างที่ดีมอง  มีความลำบากในการจำ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดีที่  7  พฤศจิกายน  2556


สิ่งที่ได้เรียนในวันนนี้
           วันนี้เป็นวันที่เรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษเป็นครั้งแรก อาจารย์เบียร์แจก Course Syllalus  ให้กับนักศึกษา และได้ชี้แจ้งรายละเอียดใน  Course Syllalus  ให้กับนักศึกษาทราบโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้คือ

   1.คำอธิบายรายวิชา
   2.ผลลัพธ์การเรียนรู้
   3.แผนการจัดการเรียนรู้
   4.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  100 คะแนน
   5.เกณฑ์การประเมินผล
   6.ข้อตกลงในการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
   7.งานวิจัยเกี่ยวกับาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
   8.เรื่องการสรุปองค์ความรู้ผ่าน Blog
       
           จากนั้นอาจารย์เบียร์ก็แจกกระดาษ A4  สีไม้และปากกาเคมีสีต่างๆให้คนละ  1  ชุด  เพื่อให้นักศึกษาทำแผนผังความคิดในหัวข้อ "เด็กพิเศษ"  เพื่อศึกษาภูมิฐานความรู้ของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับในเรื่องๆนี้  โดยให้เขียนอะไรก็ได้ที่เรารู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษหรือคิดว่าเด็กพิเศษนั้นมีความหมายว่าอย่างไร  ตามที่เราเขาใจหรือตามที่เราคิด  ไม่มีถูกไม่มีผิด โดยดิฉันแบ่งความคิดที่ได้ออกมาเป็น  3  หัวข้อดังต่อไปนี้คือ 1.ความหมาย  2.สาเหตุของการเกิดโรค  3.การอบรมเลี้ยงดู

แผนผังความคิดเรื่อง"เด็กพิเศษ"ของดิฉัน
          เมื่อทำเสร็จอาจารย์เบียร์ก็ได้ถามคำถามเกี่ยวเด็กพเศษโดยขออาสาสมัครออกมาเป็นผู้ตอบทั้งหมด  2  คน  โดยคนที่ออกไปยตอบคำถามในครั้งนี้คือ  เกศและผึ้ง   โดยทั้งสองคนนี้ได้ให้ความหมายของเด็กพิเศษในที่นี้คล้ายกัน  จากนั้นอาจารย์เบียร์ก็ได้สรุปและบอกเกี่ยวกับความหมายของเด็กพิเศษไว้คร่าวๆคือ

          " เด็กพิเศษคือเด็กที่มีลักษณะพิเศษ ที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป ซึ่งเด็กพวกนี้จะมีความผิดปกติหรือบกพร่องทางด้านร่างกาย  อารมณ์  และสติปัญญา  ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความบกพร่องที่ไม่เหมือนกัน และบางคนเองก็อาจจะมีความบกพร่องที่มากกว่า1อย่าง ในที่นี้จะรวมถึงเด็กอัศริยะหรือเด็กที่มี IQ สูงมากกว่าปกติอีกด้วย เนื่องจากเด็กเหล่านี้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันกับเด็กทั่วๆไป  จึงจำเป็นอย่างมากที่เด็กเหล่านี้ต้องได้รับการเลี้ยงดูในรูปแบบที่พิเศษกว่าเด็กทั่วๆไป ตามลักษณะอาการนั้นๆ  เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมร่วมกันกับผูื่นได้อย่างมีความสุข  "