Welcome

Welcome

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่  13   กุมภาพันธ์  2557


วันนี้ได้เรียนในเรื่องต่อไปนี้
          การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการการเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้  (LD)

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
    -  สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้กับเด็ก
    -  มองหาจุดเด่น จุดแข็งและให้คำชมอยู่เสมอ
    -  ให้แรงเสริมทางบวก
    -  ครูควรหาจุดเด่นและส่งเสริมในทางนั้น
    -  รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
    -  วางแผนกรจัดทำแ้มข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก  (ทำIEP)
    -  สังเกตพฤติกรรมความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก

การรักษาด้วยยา
     -  Ritalin  มีลักษณะคล้ายยาของกลุ่มอาการสมาธสั้น
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ 
     -  สำนักงานการศึกษาพิเศษ ( สศศ )  ช่วยทุกอย่างตั้งแต่เกิดยันแก่สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ
     -  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ( ประจำแต่ละจังหวัด  มีถึงม.6 )
     -  ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Eary  Intervention : EI ) เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยโดยตรง
     -  โรงเรียนเฉพราะความพิการ ( แยกออกเป็นสาขา เช่น โรงเรียนคนตาบอด )
     -  สถาบันราชานุกูล  (ช่วยเหลือเด็กพิเศษโดยเฉพาะ)  โดยชื่อเดิมคือโรงพยาบาลคนปัญญาอ่อนเปลี่ยนใหม่เป็นโรงพยาบาลราชานุกูล  และปัจจุบันคือ  สถาบัญราชานุกูล

         จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดู  VDO  เรื่อง  "เรียนอย่างไรในศูนย์การเรียนพิเศษ"  ของมหาวิทยาลัยพิบูลสงครามที่พูดถึงเรื่อง
     -  การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง  5 ด้าน  ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
     -  การเคลื่อนไหว ในกล้ามเนื้อมัดเล็ก  การพูด
     -  กิจกรรมส่งเสริมด้านภาษา
     -  ทักษะทางด้านการช่วยเหลือตนเอง  เช่นการรับประทานอาหาร  การถอดถุงเท้าและรองเท้า
การจัดกิจกรรม
     -  โครงการแม่ลูกผูกพันธ์  คือให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยมีปฏิสัมพันธ์
     -  โครงการนักศึกษาดูแลน้อง
     -  โครงการฝึกอาชีพ  เน้นให้เด็กช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้  เช่นการรีดผ้า  พับผ้า  ช่วยในการตวงส่วนผสมทำขนม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่  6   กุมภาพันธ์  2557

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์พารุ่นพี่ไปทำกิจกรรมที่ต่างจังหวัด

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่  30   มกราคม  2557


วันนี้ได้เรียนในเรื่องดังต่อไปนี้

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1.Down's Syndrome 

          เด็กสามารถฟังคำสั่งได้  บอกให้ทำอะไรทำได้  แต่จะชอบร้องกรี๊ดบ้าง  ใน100ละ80เป็นโรคหัวใจ  และเด็กยังต้องพึ่งคนอื่นอยู่

ส่งเสริมและรักษาโดย

     -  รักษาตามอาการ
     -  แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
     -  ให้เด็กสาทารถช่วยเหลือตนเองได้  ในการใช้ชีวิตประจำวันและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด
     -  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic  Approach)

1.ด้านสุขภาพอนามัย คือ  บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ 
2.การส่งเสริมพัฒนาการ  คือ  เด้กกลุ่มดาน์ซิืนโดมสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.การดำรงชีวิตประจำวัน  คือ  การฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ  เนื่องจาก  เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในทุกๆด้าน
     -  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น  การฝึกพูด  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด
     -  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  (IEP)
     -  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  เช่น  ฝึกทักษะในการดำรงชีวิตประจำวัน
     -  กรฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

     การเลี้ยงดูเด็กในช่วง  3  เดือนแรก  ( สำคัญมาก )
     -  ท่านอนที่เหมาะสมกับเด็กต้องนอนตะแคง  ขาไขว้กันเป็นกากบาท  มือยื่นออกมาข้างลำตัวประสบกันสลับซ้ายขวา
     -  การอาบน้ำต้องใช้มือ  ผ้าขุนหนู  ฟองน้ำ  สลับกันถูนวดตัวเด็กอย่างต่อเนื่อง  เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึก  
     -  ผู้หญิงที่เป็นดาวน์สามารถตั้งท้องได้  แต่ลูกที่คลอดออกมาสามารถเป็นดาวน์ได้ถึง  90  เปอร์เซ็น  แต่ชายจะเปป็นหมัน
การปฏิบัติของบิดามารดา
     -  ยอมรับความจริง
     -  เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน  เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป
     -  ให้ความรักและควมอบอุ่น
     -  การตรวจภายใน  ตรวจหาเมร็งปากมดลูกและเต้านม
     -  การคุมกำเนิดและการทำหมัน
     -  การสอนเรื่องเพศศึกษา
     -  โรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
     -  พัฒนาทางด้านทักษะทางด้าน  เช่น  คณิตศาสตร์และภาษา
     -  สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
     -  สังคมยอมรับมากขึ้น  สามารถไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
     -  ลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
     -  การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเพราะเด็กกลุ่มนี้สามารถทำงานได้


Autistic  (เป็นกลุ่มที่น่ากลัว)
         การส่งเสริมความเข็มแข็งในครอบครัว  หมายถึง  ครอบครัวต้องมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถเด็ก
      -  การให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลายและการทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม(เด็กมักโดนมองในทางลบ)
      -  เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
      -  การให้แรงเสิมในทางที่ดี  เช่น  การให้คำชม 
  
การฝึกพูด
     -โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาในด้านการพัฒนาการด้านภาษาและการสื่ความหมายล่าช้า  ถ้าเด็กพูดได้เร็ว  โอกาสที่พัฒนาการด้านภาษาจะพัฒนาได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติก็เพิ่มมากขึ้น
      -  ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
      -  ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
      -  การสื่อความหมายทดแทน  ( ACC ) การใช้รูปภาพสื่อความหมาย  ( PECS - คล้ายบัตรคำแต่จะมีช่องตารางเพื่อให้เด็กหยิบบัตรคำไปวางในตารางเรียงเป้นประโยคเพื่อบอกความต้องการ )

การส่งเสริมพัฒนาการ
      -  ให้เด็กได้พัฒนาเป็นไปตามวัย
      -  เน้นในเรื่องการมองหรือสบตา  การมีสมาธิ  การฟังภาษาและการทำตามคำสั่ง
      -  ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้า  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร  สังคมและพฤติกรรม

ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
      -  เน้นทักษะพื้นฐานทางด้านสังคม  การสื่อสาร  และทักษะทางด้านความคิด
      -  แผนการจัดการศึกษาเฉพราะบุคคล  ( IEP )
      -  โรงเรียนเรียนร่วม  ( ห้องเรียนคู่ขนาน-มีเด็กที่เป็นออทิสติกหรือเด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติคู่กัน )  
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม 
      -  ทักษะด้านการใช้ชีวิตประจำวัน  และการฝึกฝนทักษะทางด้านสังคม
      -  ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้  โดยต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นให้น้อยที่สุด

การใช้ยารักษา
      -  Methylphenidate  (Ritalin) ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง  ซน  หุนหันพลันแล่น  ขาดสมาธิ
      -  Risperidone / Haloperidol  ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง  หงุดหงิด  หุนหันพลันแล่น  พฤติกรรมซ้ำ  พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
      -  ยาในกลุ่ม  Anticonstant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในกลุ่มที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

การบำบัดทางเลือก
     -  การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )
     -  ศิลปะบำบัด ( Art  Therapy )
     -  ตรีบำบัด ( Music  Therapy )
     -  การฝังเข็ม ( Acupunctupy )
     -  การบำบัดสัตว์  ( Animal Therapy )

ส่งเสริมพ่อแม่ผู้ปกครอง
     -  "ลูกตัวเองพัฒนาได้"
     -  เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
    -  ถ้าเราไม่รัก  แล้วใครจะรัก
    -  หยุดไม่ได้ คือหยุดรักเขาไม่ได้  หยุดให้การช่วยเหลือเขาไม่ได้  ต้องให้เขาช่วยเหลือตนเองให้ได้
    -  ดูแลจิตใจของตนเองให้เข็มแข็ง
    -  ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
    -  ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาดู VDO  เรื่องเด็กสมาธิสั้น ของสถาบัญราชานุกูล

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดีที่  23  มกราคม  2557


วันนี้เป็นวันสอบกลางภาค  จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่  16  มกราคม  2557


        ในวันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง  ด้วยความเป็นห่วงและความไม่สะดวกในการเดินทางมาเรียนของนักศึกษา จึงมีการงดการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ

        สำหรับงานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้

การสรุปวิจัยที่หามาใส่กระดาษ A4 ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

        1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้แต่ง/มหาวิทยาลัย
        2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
        3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
        5.นิยามศัพท์เฉพาะ
        6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
        7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        8.การดำเนินการวิจจัย
        9.สรุปผลการวิจัย
       10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

****โดยกำหนดส่งในวันที่ 19/02/57

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่  9   มกราคม  2557


         การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้แจกแบบประเมินการนำเสนองานกลุ่มก่อนและลำดับต่อมาคือการออกมานำเสนองานกลุ่มของนักศึกษาในเรื่องที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียนโดยเพื่อนได้ออกมานำเสนองานตามลำดับดังนี้

         1.การนำเสนอในเรื่องของเด็กที่มีความบกพร่องทางการรเรียนรู้ (L.D.)
         2.การนำเสนอในเรื่องของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (C.P.) (กลุ่มของดิฉัน)
         3.เด็กสมาธิสั้น 
         4.เด็กดาวน์ซินโดม

         เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้พูดในเรื่องของแบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิดถึงห้าปีของสถาบันราชานุกูลและให้นักศึกษาลองทำแบบทดสอบ Gesell Drawing

แบบทดสอบIQ  Gesell  Drawing
         เป็นการวัดความสามารถทางด้านการใช้กล้ามเนื้อมือ  และการประสานการทำงานระหว่างสายตากับมือตามระดับที่ควรจะเป็น 

         รูปที่  1  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  2  ปี
         รูปที่  2  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  3  ปี
         รูปที่  3  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  4  ปี
         รูปที่  4  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  5  ปี
         รูปที่  5  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  6  ปี
         รูปที่  6  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  7  ปี
         รูปที่  7  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  8  ปี
         รูปที่  8  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  9  ปี
         รูปที่  9  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  10  ปี
         รูปที่  10  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  11  ปี
         รูปที่  11  เป็นความสามารถของเด็กอายุ  12  ปี

         จากนั้นอาจารย์ได้ทำการสอนต่อในเรื่องของ " การประเมินพัฒนาการ " โดยเนื้อหาที่เรียนมีดังนี้

แนวทางในการดูแลรักษา
         1.การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
         2.การดูความผิดปกติร่วมด้วย  เช่น  หูหนวก  ตาบอด
         3.การรักษาต้องรักษาให้ตรงกับอาการที่พบ
         4.การส่งเสริมพัฒนาการ
         5.การให้คำปรึกษากับครอบครัว

ขั้นตอนในการดูแลรักษามีดังนี้
         1.การคัดกรองพัฒนาการ
         2.การตรวจประเมินพัฒนาการ
         3.การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
         4.การรักษาและการส่งเสริมพัฒนาการ
         5.การติดตามผลและประเมินผลระยะยาว

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557